วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ (ข้าวเม่าทรงเครื่อง)

 
 
 
 
 


โครงงาน

 

“ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ (ข้าวเม่าทรงเครื่อง)”

 

 

จัดทำโดย

 

นายพัชรพล                  เหล่าดี                  เลขที่  11

นางสาวศิริวิภา             พุทธรักษา           เลขที่  35

นางสาวสุพิชฌาย์         รอดภัย                เลขที่  41


   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

เสนอ

อาจารย์พรทิพย์            มหันตมรรค

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ภาคเรียนที่ 1/2555

 

วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช

 

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์           กระทรวงวัฒนธรรม



 



บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่อง  ข้าวเม่าทรงเครื่อง เพื่อมาศึกษาวิธีการทำข้าวเม่า ทำให้ได้รู้ถึงรูปแบบวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า ข้าวเม่า เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ  ซึ่งจะมีข้าวเม่าอยู่ด้วย ได้มีการประยุกต์จากข้าวเม่า มาเป็นข้าวเม่าทรงเครื่อง  โดยให้นำสิ่งแวดล้อมความเป็นธรรมชาติมาพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน
การทำข้าวเม่าทรงเครื่อง จึงเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านท้องถิ่นในตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

 
 
 

กิตติกรรมประกาศ


                        โครงงานฉบับนี้จะสำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์พรทิพย์   มหันตมรรค  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำแนะนำ  แนวคิด  ตลอดทั้งแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ  มาโดยตลอด   จนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์  ผู้ศึกษาจึงกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
                ขอขอบพระคุณ คุณรัศมี   ไตรสุวรรณ  ผู้ให้คำสัมภาษณ์ขั้นตอนการทำข้าวเม่าทรงเครื่องและให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ
                ขอขอบพระคุณพ่อแม่และผู้ปกครอง   ที่คอยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ  รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา
                ขอบคุณเพื่อนๆ  ที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ  เกี่ยวกับการเลือกคำ  และเกี่ยวกับโครงงานชิ้นนี้
 
 
                                                                                                                           คณะผู้จัดทำ

 
 
 
บทที่  1
 
บทนำ

 

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

                  สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าวในภาคใต้เป็นที่ราบริมทะเล และเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนในการทำนา ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนเร็วกว่าทางฝั่งตะวันออก และฝนจะมาล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ การทำนาในภาคใต้จึงล่าช้ากว่าภาคอื่น ชาวนาในภาคนี้ ปลูกข้าวเจ้าในฤดูนาปีกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยในเขตชลประทานของจังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง และสงขลา มีการปลูกข้าวนาปรังและปลูกแบบนาสวน  บริเวณพื้นที่ดอนและที่สูงบนภูเขาชาวนาปลูกข้าวไร่   เมื่อเสร็จหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านภาคใต้ก็จะทำอาชีพเสริม เพื่อหารายได้โดยมีการทำอาชีพขายข้าวเม่ากัน  ซึ่งข้าวเม่านั้น ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา  ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอด  ข้าวเม่าที่ยังไม่ได้คลุก  และข้าวเม่าที่คลุกแล้วมีอยู่ด้วย
 
                ในท้องที่อำเภอเมือง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ก็ได้นำข้าวเม่าที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นสินค้าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์  ข้าวเม่าส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเหนียวการตำข้าวเม่าเป็นวิถีชีวิตหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราชโดยเฉพาะที่ร้านไตรสุวรรณได้มีการทำผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าทรงเครื่องเป็นอาชีพหลักและเป็นสินค้าที่ขายได้ราคาดีมีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาในการทำเป็นของตนเอง จากวิถีชีวิตของคนในท้องที่จึงได้ทำการศึกษาการทำข้าวเม่าทรงเครื่องเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ให้คงอยู่สืบไป
 
 
วัตถุประสงค์
 
                1.เพื่อศึกษาขั้นตอนวิธีการทำข้าวเม่าทรงเครื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ (ร้านไตรสุวรรณ)
 
                2. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวเม่าทรงเครื่อง
 
                3. เพื่อศึกษาดูว่าภูมิปัญญาใดที่ทำให้ข้าวเม่าทรงเครื่องของร้านไตรสุวรรณยังขายดีมาจนถึงทุกวันนี้

 

หลักการและทฤษฎี

 
การทำข้าวเม่าทรงเครื่องในท้องที่ตำบลท้องตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช (ร้านไตรสุวรรณ) มีการทำข้าวเม่าทรงเครื่องมาเป็นเวลา  10  ปีแล้ว   ด้วยเหตุว่าในท้องที่แห่งนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ในอดีตนั้นการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก  ส่วนข้าวเหนียวนั้นมีการปลูกบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย  อีกทั้งท้องที่แห่งนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเมืองนครศรีธรรมราช ความเป็นอยู่ของราษฎรในอดีตอยู่ในฐานะค่อนข้างดี ราษฎรมีที่นาเป็นของตนเอง จากสภาพการเช่นนี้ทำให้ท้องที่แห่งนี้ราษฎรในแต่ละชุมชนจะใช้เวลาว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อันก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมรวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย และสนุกสนาน  การทำข้าวเม่าทรงเครื่องเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการรู้จักแปรรูปสินค้าให้มีอายุการเก็บรักษานานยิ่งขึ้นและเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า  และสามารถเป็นอาชีพหนึ่งของชุมชน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้
 
 
ขอบเขตของโครงงาน
 
                1.ศึกษาประวัติการทำข้าวเม่าทรงเครื่องจากอินเตอร์เน็ต
 
                2.สอบถามจากผู้รู้คือ
 
-  คุณรัศมี    ไตรสุวรรณ    ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่  82/1   ถนนกะโรม  ตำบลโพธิ์เสด็จ   อำเภอเมือง   จังหวัดนครศรีธรรมราช  ประกอบอาชีพค้าขาย

 

 
 
สถานที่ไปทำโครงงาน

 

 บ้านเลขที่  82/1   ถนนกะโรม  ตำบลโพธิ์เสด็จ   อำเภอเมือง   จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

1. ทราบถึงวิธีการทำข้าวเม่าทรงเครื่องของชาวภาคใต้
 
2.เป็นการช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้คือ การทำข้าวเม่าทรงเครื่อง
 
3.ทราบว่าภูมิปัญญาใดที่ทำให้การทำข้าวเม่าทรงเครื่องยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

 

 
บุคคลานุกรม



คุณรัศมี    ไตรสุวรรณ    ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่  82/1   ถนนกะโรม  ตำบลโพธิ์เสด็จ   
 
     อำเภอเมือง     จังหวัดนครศรีธรรมราช  ประกอบอาชีพค้าขาย
 
 



บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง



 



ประวัติความเป็นมาของข้าวเม่า





ส.พลายน้อย (2537 )  กล่าวว่า  ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา  ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอด  ข้าวเม่าที่ยังไม่ได้คลุก  และข้าวเม่าที่คลุกแล้วมีอยู่ด้วย



ประภาส กล่าวว่า ข้าวเม่ามีทั้งข้าวเม่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ โดยที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม ข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล

 

วรดุลย์ ตุลารักษ์ (2540 )  กล่าวว่า  ข้าวที่จะเลือกเอาไปทำข้าวเม่าจะต้องเลือกเอาข้าวพันธุ์ดีในช่วงเวลาที่พอเหมาะซึ่งถ้าแก่เกินไปจะไม่อร่อย เสียรสชาติ พันธุ์ข้าวที่นิยมใช้เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว  ซึ่งมีความนิ่ม หอม อร่อย เหมาะแก่การทำข้าวเม่าเป็นที่สุดพันธุ์อื่นๆ เทียบไม่ได้หลังข้าวตั้งท้องหนึ่งเดือน เป็นช่วงเวลาที่ข้าวติดรวงแล้วปลายรวงข้าวกำลังจะสุกเลยช่วงหางใสกลายเป็นสีเหลืองแต่โคนรวงยังเป็นสีเขียวอยู่นั้น เป็นช่วงที่เหมาะจะเลือกเอมาทำข้าวเม่า





นิรมล ยุวบุลย์  กล่าวว่า ข้าวเม่า เป็นขนมที่ทำกินตามช่วงฤดูกาล คำว่า “เม่า” นี้ พระยาอนุมานราชธนอธิบายว่า น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า “ มาง” ในภาษาอาหม ที่แปลว่าทุบหรือตำให้เป็นแผ่นบาง ข้าวเม่าก็น่าจะหมายถึง ข้าวที่ทุบให้แบน  ส่วนใหญ่คนไทยจะปลูกข้าวหอมมะลิไว้กินและขายเป็นหลัก ส่วนข้าวเหนียวก็ต้องปลูกเอาไว้ทำขนมกินเอง  ข้าวเม่าบางเจ้าก็มักง่ายที่เอาข้าวเจ้ามาทำข้าวเม่าขาย โดยใช้วิธีตำใบข่าเพื่อเพิ่มสีเขียวเข้าไปดูรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน แต่รสมันไม่หวานเหมือนข้าวเม่าข้าวเหนียว



 



กว่าจะเป็นข้าวเม่าทรงเครื่อง



 


 ข้าวเม่าทรงเครื่องพัฒนามาจากการข้าวเม่าธรรมดาแต่นำมาแปรรูปผสมวัตถุดิบต่างๆเข้าไปทำให้มีรสชาติที่อร่อยขึ้นและสามรถเก็บเอาไว้บริโภคได้นานยิ่งขึ้น



 



จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์

แรกเริ่ม คุณรัศมี   ไตรสุวรรณ ได้ทำให้ลูกหลานรับประทานภายในครัวเรือนบ่อยครั้ง จนเกิดความชำนาญ และได้ชักชวนสมาชิกในหมู่บ้านจัดตั้งกลุ่มสตรีขึ้นมา โดยทำผลิตแปรรูปจากข้าวเม่า และถั่วลิสง ให้คงอยู่ได้นาน จึงคิดริเริ่มทำข้าวเม่าทรงเครื่อง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษรุ่นปู่ย่าตายาย ให้กลุ่มได้มีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้นในกลุ่มสมาชิกที่ร่วมกันจัดตั้ง จนทำให้มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ตราบทุกวันนี้



 



การสั่งสม สืบสานผลิตภัณฑ์

ประธานกลุ่มฯ โดยคุณรัศมี   ไตรสุวรรณ ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษรุ่นปู่ย่าตายาย และสั่งสมวิชาชีพมานาน จนเกิดความชำนาญในการผลิตสินค้า จากถั่วลิสงและข้าวเม่า นำมาแปรรูปเป็นข้าวเม่าทรงเครื่อง




บทที่  3


วิธีการดำเนินงาน



วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
                การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้
1.  ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1  ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำข้าวเม่าทรงเครื่อง
                                 1.2  ศึกษาวัตถุดิบและส่วนประกอบการทำข้าวเม่าทรงเครื่อง จากร้านไตรสุวรรณ
อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำข้าวเม่าทรงเครื่อง
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้สังเกต และสัมภาษณ์
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
 
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง


 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
 
 
      1.  ข้าวเม่าทอดแล้ว



2. หัวหอมทอด



3. พริกไทยป่น



4. น้ำตาลปิ๊บ



5. กระเทียมสับละเอียด



6. ซอยหอยนางรม



7. ซีอิ๋วขาว



8. ถั่วหิมพานต์



9. กุ้งแห้ง
 
 








บทที่  4
ผลการศึกษา




ขั้นตอนการผลิต
 
1.  นำข้าวเม่าไปทอดในกะทะที่ไฟอ่อนปานกลางพอให้ข้าวเม่าเป็นสีเหลืองทองแล้วนำขึ้นมาพักไว้ในภาชนะ



 
 
 
 
 




2.  นำกุ้งแห้งไปทอดในกะทะที่ไฟอ่อนปานกลางพอให้ข้าวเม่าเป็นสีเหลืองทองแล้วนำขึ้นมาพักไว้ในภาชนะ



 
 



3.  นำน้ำตาลปี๊บไปละลายในกระทะใช้ไฟปานกลาง   คนไปจนกว่าน้ำตาลจะละลายแล้วใส่เครื่องปรุงซีอิ๋วขาว   น้ำมันหอย





 
 
 
              4.  นำข้าวเม่าที่ทอดแล้ว  กุ้งแห้ง  เม็ดมะม่างหิมพานต์  กะเทียมเจียวและหัวหอมเจียว  พริกไทยมาผสมกันในภาชนะแล้วนำไปคลุกเคล้ากับน้ำตาลที่ละลายแล้วในกะทะ  คนให้เข้ากันใช้ไฟปานกลาง
 
 
 
 

 
 
 

         5.  นำข้าวเม่าทรงเครื่องที่เสร็จแล้วบรรจุใส่ภาชนะ
 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

บทที่  5

สรุป อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

 

การวิจัยเรื่อง  ข้าวเม่าทรงเครื่อง เพื่อมาศึกษาวิธีการทำข้าวเม่า ทำให้ได้รู้ถึงรูปแบบวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป

จากการศึกษาพบว่า ข้าวเม่า เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ  ซึ่งจะมีข้าวเม่าอยู่ด้วย ได้มีการประยุกต์จากข้าวเม่า มาเป็นข้าวเม่าทรงเครื่อง  โดยให้นำสิ่งแวดล้อมความเป็นธรรมชาติมาพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน  โดยร้านไตรสุวรรณได้มีการนำเครื่องปรุงคือ  น้ำมันหอยและซีอิ๋วขาวมาใส่ในข้าวเม่าทรงเครื่องแทนน้ำปลาเพราะจะทำให้มีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น  นำน้ำตาลปี๊บมาใช้แทนน้ำตาลทรายเพราะจะทำให้มีความเหนียวมากกว่า

การทำข้าวเม่าทรงเครื่อง จึงเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบถึงวิธีการทำข้าวเม่าทรงเครื่องของชาวภาคใต้ (ร้านไตรสุวรรณ)

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

3. .ทราบว่าภูมิปัญญาใดที่ทำให้การทำข้าวเม่าทรงเครื่อง (ร้านไตรสุวรรณ) ขายดีมาจนถึงทุกวันนี้

 

ข้อเสนอแนะ

                การวิจัยเรื่อง ข้าวเม่าทรงเครื่องเพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

                1. ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ  อนุรักษ์  และสืบสานต่อไป

1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม